พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา
แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้น อย่างนี้ว่า
โอหนอ! ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
เพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? จะพึงกล่าวได้ว่า
เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร? (อ่านต่อ) |
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สงสารนี้ มีที่สุดเบื้องต้น
เบื้องปลายรู้ไม่ได้แล้ว ที่สุดเบื้องต้น ย่อมไม่ปรากฏ
สำหรับสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่.
มหาสมุทร ยังมีสมัยเหือดแห้ง ไม่เป็นมหาสมุทร.
แต่เราไม่กล่าวว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรราหุล! เธอจงเจริญภาวนา ( อบรมจิต)
เสมอด้วยแผ่นดินเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญภาวนา
เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะอันเป็นที่ชอบใจและไม่ชอบใจ
ที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้.
ดูกรราหุล ! เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง
ไม่สะอาดบ้าง (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
"ดูกรราหุล ! เธอจงเจริญ...เมตตาภาวนาเถิด
เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ จักละพยาบาทได้ .
เธอจงเจริญ...กรุณาภาวนาเถิด เพราะเมื่อ
เธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่ จักละวิหิงสาได้ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! พรานเบ็ดหย่อนเบ็ดที่มีเหยื่อ
ลงในห้วงน้ำลึก ปลาที่เห็นแก่เหยื่อตัวใดตัวหนึ่ง กลืนกินเบ็ดนั้น ปลานั้น ชื่อว่า กลืนกินเบ็ดของนายพรานเบ็ด ถึงความวิบัติ ถึงความพินาศ
พรานเบ็ด พึงกระทำได้ตามชอบใจ ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ในโลกมีเบ็ดอยู่ ๖ ชนิดเหล่านี้
เพื่อจะนำสัตว์ทั้งหลายไป เพื่อจะฆ่าสัตว์ทั้งหลายเสีย ก็ฉันนั้น เหมือนกัน (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผ้าที่ทอด้วยด้ายชนิดใดชนิดหนึ่ง
ผ้าของชาวกาสี บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ
กว่าผ้าที่ทอด้วยด้ายเหล่านั้น แม้ฉันใด
กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูล
รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท
บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ
ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.(อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนท่อนไม้
ที่บุคคลขว้างขึ้นไปบนอากาศแล้ว
บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี
บางคราวเอาตอนกลางตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด
สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์ คืออวิชชา
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่
บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ถึงแม้สมณะ หรือพราหมณ์ผู้มีความต้องการวาทะ
ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา ... ทิศประจิม ... ทิศอุดร .
..ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน
ใกล้เมืองโกสัมพีครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย
๒- ๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน
ใบประดู่ลาย ๒- ๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือ กับใบที่บนต้น
ไหนจะมากกว่ากัน? (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เราจักแสดงกรรมทั้งใหม่และเก่า
ความดับแห่งกรรม และปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้ถึงความดับแห่งกรรม
ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ก็กรรมเก่าเป็นไฉน? (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลิวัน
ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่
นี้เป็นอนุศาสนีของเรา สำหรับเธอทั้งหลาย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร ? (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! สัตว์เหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเช้า
เวลาเช้า ก็เป็นเวลาเช้าที่ดี ของสัตว์เหล่านั้น
สัตว์เหล่าใด ประพฤติสุจริตด้วยกาย
ประพฤติสุจริตด้วยวาจา ประพฤติสุจริตด้วยใจ ในเวลาเที่ยง(อ่านต่อ) |
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เธอทั้งหลาย
จงเป็นผู้มีตน เป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
จงเป็นผู้มีธรรม เป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอก
ซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น
ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ
เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่งๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นได้บ้างหรือหนอ? (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ภิกษุทั้งหลาย !
การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นของยาก
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
จะอุบัติในโลก เป็นของยาก
ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว
จะรุ่งเรืองในโลก ก็เป็นของยาก (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนบุรุษ
พึงตัดหญ้าไม้ กิ่งไม้ และใบไม้
ในชมพูทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน
ครั้นแล้วกระทำให้เป็นหลาว
ครั้นกระทำให้เป็นหลาวแล้ว
พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ ในมหาสมุทร
ในหลาวขนาดใหญ่ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น
สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด
สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อน แห่งการตรัสรู้อริยสัจ ๔
ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน
อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์
ยังไม่เกิดขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่าง
แจ่มจ้าอย่างมาก ก็ยังไม่มีเพียงนั้น
เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก
กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี
พึงกล่าวอย่างนี้ กะผู้มีชีวิตอยู่ร้อยปีว่า
มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลาย จักเอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทงท่าน
ในเวลาเช้า ... ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น
ท่านนั้น ถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่ม ทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ
มีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่
จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม
เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด
ร่างกายอันเป็นที่ประชุม แห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย!
เพราะไม้สองอันครูดสีกัน จึงเกิดไออุ่น เกิดความร้อน
แต่ถ้าแยกไม้ ทั้งสองอันนั้นแหละ ออกเสียจากกัน
ไออุ่น ซึ่งเกิดจากการครูดสีกันนั้น ก็ดับไป สงบไป แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เพราะอาศัยผัสสะ
อันเป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา จึงเกิดสุขเวทนาขึ้น (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
หิงห้อยนั้น ส่งแสงสว่างอยู่ชั่วเวลา พระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว หิงห้อยนั้นก็อับแสง และไม่สว่างได้เลย
พวกเดียรถีย์ สว่างเหมือนหิงห้อยนั้น
ตราบเท่า ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
แต่เมื่อใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ในโลก(อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะ
ของพวกกษัตริย์ ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว
เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ ตอกลิ่มอื่นลงไป
สมัยต่อมา โครงเก่าของตะโพน ชื่ออานกะ ก็หายไป
ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในอนาคตกาล (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เราย่อมไม่ขัดแย้งกับโลก . แต่โลกย่อมขัดแย้งกับเรา .
ผู้กล่าวเป็นธรรม ย่อมไม่ขัดแย้งกับใครๆ ในโลก
สิ่งใด ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า ไม่มี .
สิ่งใด ที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า มี แม้เราก็กล่าวสิ่งนั้นว่า มี
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สิ่งที่บัณฑิตในโลกสมมติว่า ไม่มี
ซึ่งเราก็กล่าวว่า ไม่มี นั้น คืออะไร ? (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! จักร ๔ ประการนี้
เป็นเครื่องเป็นไปแก่มนุษย์และเทวดาผู้ประกอบ
เป็นเครื่องที่มนุษย์และเทวดาประกอบแล้ว ย่อมถึงความเป็นผู้ใหญ่
( และ ) ความไพบูลย์ในโภคะทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก
จักร ๔ ประการ เป็นไฉน ? คือ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์
ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด
ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง
โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด
บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล ฯ
การให้ ๑ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑
ความประพฤติประโยชน์ ในโลกนี้ ๑
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตาม สมควร ๑
ธรรมเหล่านั้นแล เป็นเครื่องสงเคราะห์โลก
ประดุจ สลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้น (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อมรอบ ชื่อว่า ย่อมประพฤติใกล้นิพพานทีเดียว
ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ไม้มีกลิ่นที่แก่น ชนิดใดชนิดหนึ่ง
จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด
โพธิปักขิยธรรม! เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์
เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่ง โพธิปักขิยธรรม เหล่านั้น (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย!
อานิสงส์ในการจงกรม ๕ ประการ นี้ ๕ ประการ เป็นไฉน?
คือ ภิกษุผู้เดินจงกรม
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการเดินทางไกล๑
ย่อมเป็นผู้อดทนต่อการบำเพ็ญเพียร๑ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรเจ้าลิจฉวี !
ความปรากฏขึ้น แห่งรัตนะ ๕ หาได้ยาก
ในโลกรัตนะ ๕ เป็นไฉน ? คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑
บุคคลผู้แสดงธรรมวินัย ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อใดแล สัตว์ ๖ ชนิดเหล่านั้น
ต่างก็จะไปตามวิสัยของตนๆ พึงลำบาก
เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น พึงยืนแนบ นั่งแนบ นอนแนบ
หลัก หรือ เสานั้นเอง แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง
อบรมกระทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรอานนท์ ! เหตุนี้แล
กรรมจึงชื่อว่า เป็นไร่นา วิญญาณชื่อว่า เป็นพืช
ตัณหา ชื่อว่าเป็นยาง เจตนา ความปรารถนาประดิษฐานแล้ว
เพราะธาตุอย่างเลวของสัตว์ พวกที่มีอวิชชา เป็นเครื่องสกัดกั้น
มีตัณหา เป็นเครื่องผูกใจ ด้วยประการฉะนี้ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาแล้ว
มีเต่าตัวหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง
ในเวลาเย็น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ก็ได้เที่ยวหากิน
อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยแห่งหนึ่ง
ในเวลาเย็น เต่าได้แลเห็นสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยวหากินอยู่แต่ไกลแล้ว
ก็หดอวัยวะ ๕ ทั้งหัว ( หดขาทั้ง ๔ มีคอเป็นที่ ๕ ) (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาติดตามไปเบื้องหลังฝูงโค
มันร้องว่า แม้เรา ก็เป็นโค
แต่สีเสียง และ รอยเท้า ของมันหาเหมือนของโคไม่
มันเป็นแต่เดินตามหลังฝูงโค ร้องว่า แม้เราก็เป็นโคๆ ดังนี้เท่านั้น แม้ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เพราะตถาคตอุบัติขึ้นก็ตาม ไม่อุบัติขึ้นก็ตาม
ธาตุนั้น คือความตั้งอยู่ตามธรรมดา
ความเป็นไปตามธรรมดา ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง
ตถาคตตรัสรู้ บรรลุธาตุนั้นว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง(อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย
พึงเอาชิ้นไม้ หรือชิ้นกระเบื้อง ใส่เข้าไปในปาก
เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง
พี่เลี้ยงพึงสนใจในเด็กนั้น ทันที
แล้วรีบนำเอาชิ้นไม้ หรือชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ในข้อนั้น จะมีอะไร เป็นข้อแปลกกัน
จะมีอะไร เป็นข้อประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน
จะมีอะไร เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคต
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา ? (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
บุคคลเปรียบด้วยน้ำ ๗ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก
๗ จำพวก เป็นไฉน? บุคคลบางคนในโลกนี้
จมลงแล้วคราวเดียว ก็เป็นอันจมอยู่นั่นเอง๑
บางคน โผล่ขึ้นมาแล้ว กลับจมลงไป๑
บางคน โผล่พ้นแล้ว ทรงตัวอยู่๑ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธภาษิตนี้ ว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะกล่าวว่า กองอกุศล
จะกล่าวให้ถูกต้อง กล่าวถึงนิวรณ์ ๕
เพราะว่า กองอกุศล ทั้งสิ้นนี้ ได้แก่ นิวรณ์ ๕
นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน ? คือ (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดูกรอานนท์ ! ข้อนี้ เป็นอย่างนั้น
ชราธรรม ย่อมมีในความเป็นหนุ่มสาว
พยาธิธรรม ย่อมมีในความไม่มีโรค
มรณธรรม ย่อมมีในชีวิต
ผิวพรรณ ไม่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เหมือนเมื่อก่อน (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ครั้งนั้น ภรรยาสามีทั้งสองคนนั้น ก็ฆ่าบุตรน้อยๆ
คนเดียวผู้น่ารัก น่าพอใจนั้นเสีย ทำให้เป็นเนื้อเค็ม
และเนื้อย่าง เมื่อบริโภคเนื้อบุตรเสร็จ ก็พากันเดินข้ามทางกันดาร
ที่ยังเหลืออยู่นั้น เขาทั้งสองคน รับประทานเนื้อบุตร
พลางค่อนอก พลางรำพันว่า ลูกชายน้อยๆ คนเดียวของฉันไปไหนเสีย....
เธอทั้งหลาย ! จะเข้าใจความข้อนั้น เป็นอย่างไร ?(อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไป
แสงสว่างส่องเข้าไป ทางหน้าต่าง จะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้านตะวันตก พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าฝาด้านตะวันตกไม่มีเล่า
แสงสว่างนั้นจะพึงตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?(อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
เมื่อมหาสมุทรน้ำขึ้น ย่อมทำให้ แม่น้ำใหญ่น้ำขึ้น
เมื่อแม่น้ำใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้ แม่น้ำน้อยน้ำขึ้น
เมื่อแม่น้ำน้อยน้ำขึ้น ย่อมทำให้ บึงใหญ่น้ำขึ้น
เมื่อบึงใหญ่น้ำขึ้น ย่อมทำให้ บึงน้อยน้ำขึ้น ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่ออวิชชาเกิด ย่อมทำให้ สังขารเกิด (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรอุปวาณะ ! ในวาทะทั้ง ๔ นั้น
แม้ทุกข์ ที่พวกสมณพราหมณ์ บัญญัติว่า ตนทำเอง
ย่อมเกิดขึ้น เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย ฯลฯ
แม้ทุกข์ ที่พวกสมณพราหมณ์บัญญัติว่า
เกิดขึ้น เพราะอาศัยการ ที่มิใช่ตนเองกระทำ
มิใช่ผู้อื่นกระทำให้ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจร ต่างกัน
ไม่เสวยอารมณ์ อันเป็นโคจร ของกันและกัน
อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน ?
คือ จักขุนทรีย์ ๑โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑
อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยว ของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ? (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทั้งหลายทราบว่า
เทพบุตรนี้ จะต้องเคลื่อนจากเทพนิกาย
ย่อมพลอยยินดี กะเทพบุตรนั้น ด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า
แน่ะท่านผู้เจริญ !
ขอท่านจากเทวโลกนี้ ไปสู่สุคติ ๑
ครั้นไปสู่สุคติแล้ว ขอจงได้ลาภ ที่ท่านได้ดีแล้ว ๑ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย!
ภิกษุเจ้าอาวาสประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
เหมือนถูกนำมาเก็บไว้ในนรก ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้ว กล่าวสรรเสริญ ผู้ควรตำหนิ ๑
ไม่ใคร่ครวญ ไม่พิจารณาก่อนแล้ว กล่าวตำหนิ ผู้ควรสรรเสริญ ๑
(อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ
อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี
บุรุษนั้น ข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริ อย่างนี้ว่า
แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้
พยายามอยู่ ด้วยมือ และเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี
ถ้ากระไร เรายก แพนี้ขึ้นบนศีรษะ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน ? คือ
บุคคล มีปัญญาคว่ำ ๑
บุคคล มีปัญญาเช่นกับตัก ๑
บุคคล มีปัญญากว้างขวาง ๑ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้
มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน
คือ คนตาบอด ๑ คนตาเดียว ๑ คนสองตา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลตาบอดเป็นไฉน? (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
ภิกษุใด ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย
ติเตียนพระอริยเจ้า ข้อนี้ มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส
ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๑ อย่าง
อย่างใดอย่างหนึ่ง ความฉิบหาย ๑๑ อย่างเป็นไฉน คือ (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
พุทธพจน์ วัดป่ามหาชัย |
...วิชชา และ วิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และ บริบูรณ์ อย่างนี้ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือน เมื่อฝนเม็ดหยาบ ตกลงเบื้องบนภูเขา
เมื่อฝนตกหนักๆ อยู่ น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม
ย่อมยังซอกเขา ลำธาร และ ห้วยให้เต็ม
ซอกเขา ลำธารและห้วยที่เต็ม ย่อมยังหนอง ให้เต็ม (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย! เมื่อโพชฌงค์ ๗
อันภิกษุเจริญแล้ว อย่างนี้ กระทำให้มาก แล้วอย่างนี้
ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้
ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
( ๑ ) ในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตผล โดยพลัน
( ๒ ) ในปัจจุบันไม่ได้บรรลุ ทีนั้น จะได้บรรลุ ในเวลาใกล้ตาย (อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
วัดป่ามหาชัย |
ดูกรภิกษุทั้งหลาย !
บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน?
คือ บุคคลที่พูดถ้อยคำเหม็น เหมือนคูถ ๑
บุคคลที่พูดถ้อยคำหอม เหมือนดอกไม้ ๑
บุคคลที่พูดถ้อยคำหวาน ปานน้ำผึ้ง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็บุคคลผู้พูดถ้อยคำเหม็น เหมือนคูถ เป็นไฉน? (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
วัดป่ามหาชัย |
ดูกรพาหิยะ ! เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเห็น จักเป็นสักว่า เห็น
เมื่อฟัง จักเป็นสักว่า ฟัง
เมื่อทราบ จักเป็นสักว่า ทราบ
เมื่อรู้แจ้ง จักเป็นสักว่า รู้แจ้ง
ดูกรพาหิยะ ! ท่านพึงศึกษา อย่างนี้แล (อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
วัดป่ามหาชัย |
(
โรหิตัสสเทวบุตร
) ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัตว์ ย่อมไม่เกิด ย่อมไม่แก่
ย่อมไม่ตาย ย่อมไม่จุติ ย่อมไม่อุบัติ ในโอกาสใด หนอแล
พระองค์อาจหรือหนอ เพื่อจะทรงทราบ เพื่อจะทรงเห็น
หรือเพื่อจะทรงถึงซึ่งที่สุด แห่งโลกด้วยการเสด็จไป
ในโอกาสนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า(อ่านต่อ)
|
|
|
|
|
|
|
วัดป่ามหาชัย |
ว่าเป็นที่สุดแห่งโลก ที่ควรรู้ ควรเห็น ควรถึง
ด้วยการไปและเราย่อมไม่กล่าวการกระทำที่สุดแห่งทุกข์
เพราะไปไม่ถึงที่สุดแห่งโลก แต่เราย่อมบัญญัติโลก
เหตุเกิดแห่งโลก ความดับแห่งโลก ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับ แห่งโลก
ในอัตภาพอันมีประมาณวาหนึ่ง มีสัญญาและ มีจิตนี้ เท่านั้น
(อ่านต่อ) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|